Communication System
บริการติดตั้งระบบ F/A, P/A, Lan, บริการ Fusion Splice & OTDR Test
ออกแบบ ติดตั้ง ระบบไฟฟ้าสื่อสาร อาคาร โรงงาน สำนักงาน
– ระบบLAN, Fiber Optic (Lan, Fiber Optic, system)
– บริการ Fusion Splice & OTDR Test
– ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm system)
– ระบบโทรศัพท์ (Telephone system)
– ระบบเสียง (Public Address system)
– และระบบอื่นๆ
จำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าสื่อสาร สายไฟฟ้า ท่อร้อยสาย และอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบไฟฟ้าสื่อสาร
ระบบLAN, Fiber Optic (Lan, Fiber Optic, system)
บริการงานด้านไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic) ครบวงจร โดยทีมงานคุณภาพ
ปัจจุบันการเข้าหัวสายใยแก้วนำแสง(Fiber Optic)แบบฝนหัวเข้าด้วยมือไม่เป็นที่นิยมแล้วเนื่องจากใช้เวลานาน และความแม่นยำในการเข้าน้อยมีโอกาสเสียมาก ดังนั้น จึงนิยมเข้าหัวโดยการใช้สายสำเร็จ (Pigtail) เชื่อมต่อโดยใช้เครื่อง Fusion Splice แทนซึ่งเมื่อก่อนการเข้าแบบ Splice สายนี้มีราคาค่าบริการที่ค่อนข้างสูงมาก แต่ปัจจุบันราคาต่ำลงไปมากแล้ว ลูกค้าส่วนใหญ่หรือผู้รับเหมาติดตั้งจึงหันมาใช้บริการเข้าหัวโดยเครื่อง Fusion Splicer ซึ่งมีความแม่นยำสูงและงานเสร็จได้เร็วขึ้น
– งานเดินสายและติดตั้ง (Cabling and Installation) พร้อมด้วยทีมช่างมืออาชีพ
– ให้บริการตรวจสอบ และซ่อมแซม ดูแลรักษาระบบสายไฟเบอร์ออฟติกทั้ง Indoor และ Outdoor (Aerial & Underground)
– งานฟิวชั่นสไปซ์ (Fusion Splice)
– งานทดสอบและรายงานผล OTDR (OTDR Test and Report)
ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm system)
ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ เป็นระบบที่ประกอบด้วยแผงควบคุม อุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้อัตโนมัติ และอุปกรณ์แจ้งเหตุ เป็นต้น มีจุดประสงค์ที่สำคัญเพื่อกระตุ้นเตือนผู้อาศัยในอาคารให้ทราบการเกิดเหตุเพลิงไหม้ตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อการดับเพลิง การขนย้ายทรัพย์สิน และหนีไฟตามขั้นตอนที่วางไว้อย่างเป็นระบบ ซึ่งความเสียหายที่เกิดจากสาเหตุเพลิงไหม้ มักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เจ้าของกิจการ หรือ พนักงาน ไม่อยู่ในที่เกิดเหตุ จึงส่งผลให้ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น ไม่สามารถยับยั้งได้ทันท่วงที
องค์ประกอบของระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm System)
1.ตู้ควบคุม ( Control Panel )
1.1 ชุดจ่ายไฟ ( Power Supply Unit )
1.2 ชุดสำรองไฟ ( Battery Unit )
2. อุปกรณ์เริ่มสัญญาณ ( Initiating Devices )
3. อุปกรณ์แจ้งสัญญาณ ( Notification Appliance Devices,NAC )
4. อุปกรณ์แยกแจ้งสัญญาณ ( Graphic Annunciator )
5. อุปกรณ์เสริม( Auxiliary Devices )
ระบบโทรศัพท์ (Telephone system)
1. โทรศัพท์สำนักงานระบบอนาล็อก (Analog telephone system)
โทรศัพท์สำนักงานระบบอนาล็อก หรือที่รู้จักกันในชื่อโทรศัพท์พื้นฐาน ถูกใช้มาตั้งแต่ยุคแรกของการมีโทรศัพท์ และยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน พบได้ในโทรศัพท์บ้าน และโทรศัพท์สำนักงาน เป็นเทคโนโลยีที่ทำการส่งสัญญาณผ่านสายทองแดง โดยมีสายเสียบเข้ากับชุมสายโทรศัพท์อีกที และใช้ไฟเลี้ยงจากชุมสายโทรศัพท์เพียงอย่างเดียว ข้อดี คือ สามารถใช้งานได้แม้ไฟฟ้าดับ หรือมีเหตุภัยพิบัติ (ในกรณีที่ตู้ชุมสายอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน) และไม่มีปัญหาเรื่องช่องสัญญาณเต็ม อีกทั้งค่าใช้จ่ายเริ่มต้นในการติดตั้งไม่สูงมาก แต่เมื่อต้องการเพิ่มคู่สายโทรศัพท์ เปลี่ยนตำแหน่ง หรือเคลื่อนย้ายตัวโทรศัพท์ จะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เนื่องจากต้องมีการดึงสายเพิ่ม และติดตั้งใหม่ จึงเหมาะสำหรับใช้งานตามบ้าน หรือร้านค้าต่างๆ ที่ไม่จำเป็นต้องมีการต่อสายภายใน
2. โทรศัพท์สำนักงานดิจิตอล ( Digital telephone system)
โทรศัพท์สำนักงานดิจิตอล ทำงานโดยด้วยหลักการเปลี่ยนสัญญาณเสียงแบบอนาล็อกเป็นสัญญาณเสียงแบบดิจิตอล เปลี่ยนจากการส่งสัญญาณผ่านสายทองแดง เป็นการส่งสัญญาณผ่านสายโทรศัพท์ และสายสำหรับส่งข้อมูล มีระบบตู้สาขาโทรศัพท์ PBX (Private Branch Exchange) หรือระบบชุมสายโทรศัพท์ย่อย สำหรับใช้เฉพาะภายในบริษัท หรือหน่วยงานนั้น ๆ และมีเบอร์ติดต่อภายใน หรือเบอร์ต่อโต๊ะ ที่ช่วยให้การสื่อสารสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
ระบบเสียง (Public Address system)
อุปกรณ์พื้นฐาน
1. ไมค์โครโฟน (Microphone)
2. เครื่องผสมสัญญาณเสียง (Mixer)
3. เครื่องขยายเสียง (PA Amplifier)
4. ลำโพง (Speaker)