รับประกอบตู้MDB ตู้ไฟฟ้า ตู้คอนโทรล ตู้ควบคุมปั๊มน้ำ ตู้ควบคุมระบบแสงสว่าง
บริการ รับประกอบตู้MDB ตู้ไฟฟ้า ตู้คอนโทรล ตู้ควบคุมปั๊มน้ำ ตู้ควบคุมระบบแสงสว่าง โดยผู้เชียวชาญ
- ประกอบตู้ MDB (Main Distribution Board)
- ประกอบตู้คอนโทรล (Control Panel)
- ประกอบตู้คาปาซิเตอร์ (Capacitor Bank Panel)
- ประกอบตู้ตู้ควบคุมมอเตอร์ (Motor Control Panel)
- ตู้ควบคุมปั๊มน้ำ (Pump Control Panel)
- ตู้ควบคุมแสงสว่าง (Lighting Control
- งานแก้ไข โมดิฟายบัสบาร์ (Busbar Modify)
- งานเปลี่ยนอุปกรณ์ภายในตู้ (แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์, เมนเซอร์กิตเบรกเกอร์, มิเตอร์ คาปาซิเตอร์ ฯลฯ)
ตู้ MDB
MDB (Main Distribution Board) เป็นตู้ควบคุมไฟฟ้าหลัก ใช้ในอาคารที่มีขนาดกลาง หรืออาคารที่มีขนาดใหญ่ เช่น อาคารพานิชย์ และโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีการใช้ไฟฟ้าปริมาณมาก ตู้MDB เป็นตู้ซึ่งรับไฟฟ้ามาจากหม้อแปลงจำหน่ายไฟฟ้า ก่อนจะจ่ายไฟฟ้าไปยังตู้ย่อยต่างๆ ภายในอาคารหรือโรงงานอุตสาหกรรม
หน้าที่ของ ตู้ MDB
จะทำหน้าที่รับไฟฟ้าจากหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมทั้งทำหน้าที่จ่ายไฟฟ้าไปยังตู้ย่อยๆต่าง พร้อมทั้งทำหน้าที่เป็นป้องกันความเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดจากความผิดปกติของระบบไฟฟ้า เช่น แรงดันไฟฟ้าตก แรงดันไฟฟ้าเกิน ไฟฟ้าลัดวงจร กระแสไฟฟ้ารั่วลงดิน
อุปกรณ์ต่างๆ ใน ตู้ MDB
1. โครงตู้ (Enclosure)
โครงตู้ ทำหน้าที่เป็นส่วนห่อหุ้ม ช่วยป้องกันอุปกรณ์ต่างๆภายในตู้ รวมถึงป้องกันไม่ให้ผู้ใช้งานสัมผัสกับส่วนที่มีไฟภายในตู้ โครงตู้ยังทำหน้าที่เป็นที่ยึดตัวอุปกรณ์ต่างๆ
2. บัสบาร์ (Busbar)
บัสบาร์ (Busbar) คือ ตัวนำไฟฟ้า วัสดุที่ใช้จะเป็นโลหะทำมาจากทองแดงหรืออะลูมิเนียม ทำหน้าที่รับและจ่ายกระแสไฟฟ้า มักนิยมทำเป็นรูปทางสี่เหลี่ยมผืนผ้า (FLAT) เพราะเป็นรูปทรงที่ช่วยให้ความร้อนกระจายตัวได้ดีอย่างมีประสิทธิภาพ การเลือกใช้บัสบาร์ควรพิจารณาคุณสมบัติ
1. มีความแข็งแรงทางกลสูงโดยเฉพาะด้านแรงดึง แรงอัด และแรงฉีก
2. มีความต้านทานต่ำ
3. ความต้านทานต่อการกัดกร่อนสูง
4. ความต้านทานต่อ Fatigue Failure สูง
5. ความต้านทานของ Surface Film ต่ำ
6. สามารถดัดและตัดต่อได้สะดวก
3. เซอร์กิต เบรกเกอร์ (Circuit Breaker)
เซอร์กิต เบรกเกอร์ (Circuit Breaker) คือ สวิตช์ไฟฟ้าอัตโนมัติที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันวงจรไฟฟ้าจากความเสียหายที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าส่วนเกิน โดยทั่วไปเกิดจากโหลดเกินหรือไฟฟ้าลัดวงจร การทำงานของมันคือตัดกระแสไฟฟ้าหลังจากตรวจพบความผิดปกติในวงจรไฟฟ้า การเลือกใช้งานเซอร์กิตเบรกเกอร์ ควรพิจารณาค่าต่างๆให้เหมาะสมกับการใช้งานไม่ว่าจะเป็น ค่าพิกัดกระแส (AT) ค่าพิกัดกระแสโครงสร้าง (AF) ระยะเวลาในการตัดวงจร (Time) พิกัดกระแสรั่วไหล (I∆N) การตัดกระแสลัดวงจร (IC)
4. เครื่องวัดไฟฟ้า (Meter)
ทั่วไปจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ แบบเข็ม หรือ เรียกอีกอย่างว่า อนาล็อกและแบบดิจิตอล ใช้ในการอ่านค่าโวลต์และแอมป์ ซึ่งต้องใช้งานร่วมกับ Selector Switch เพื่อวัดเเรงดันหรือกระเเสในเเต่ละเฟส พิกัดเเรงดันของโวลต์มิเตอร์ คือ 0-500V. ส่วนพิกัดกระเเสของเเอมมิเตอร์จะขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของ Current Transformer สำหรับตู้ MDB ที่มีขนาดใหญ่จะมีอุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น เพาเวอร์แฟคเตอร์ มิเตอร์ (P.F. Meter), วัตต์มิเตอร์ (Watt Meter), หรือวาร์มิเตอร์ (Varmeter)
บริษัท เอสเอ็มโอ ซัพพลาย แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ (08.30 – 17.30)
Tel : 02-117-4135
E-Mail : support@smo.co.th
Website : www.smo.co.th